• ลงทุน
    • ระดมทุน
    • เรียนรู้
    • เกี่ยวกับเรา

    ระดมทุน

    จะระดมทุนผ่าน dreamaker ได้อย่างไร

    สำหรับเจ้าของธุรกิจ

    เจ้าของบริษัทขนาดย่อม (SMEs) และ Startup ที่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ปฏิบัติได้จริง เริ่มดำเนินงานมาแล้ว มีการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีบรรษัทภิบาลที่ดี สามารถเสนอการระดมทุนผ่านทางเว็ปไซต์ Dreamaker โดยผู้ระดมทุนจะต้องกำหนดเป้าหมายเงินระดมทุน และสัดส่วนหุ้นที่ให้แก่ผู้ลง

    บริษัทที่ต้องการระดมทุน จะต้องสมัครสมาชิกก่อน จากนั้นจึงยื่นเอกสารประกอบการระดมทุน โดยแนบ pitch deck ข้อมูลทางการเงิน สัญญาทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เอกสารยืนยันตัวตนของผู้มีอำนาจลงนาม และเอกสารเพิ่มเติม ตามที่ระบุด้านล่าง เมื่อทีมงานได้รับเอกสารแล้ว จะติดต่อกลับไปภายใน 7 วันทำการ

    กำหนดยอดระดมทุน

    เจ้าของบริษัทต้องกำหนดวงเงินที่ต้องการระดมทุน และสัดส่วนหุ้นที่ให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทาง Dreamaker ในการพิจารณา

    สมัครสมาชิก

    เจ้าของบริษัทขนาดย่อม (SMEs) และ Startup ที่ต้องการระดมทุนผ่านเว็บไซต์ Dreamaker สามารถเริ่มต้นได้ โดยการข้อมูลในแบบฟอร์มขอระดมทุน เมื่อทีมงานได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะติดต่อกลับไปภายใน 7 วันทำการ

    บริษัทที่ได้รับการคัดเลือก

    แคมเปญของบริษัทที่ผ่านการตรวจสอบและคัดเลือก จะปรากฎอยู่ใน หน้าลงทุน พร้อมรายละเอียดของบริษัทของท่าน คลิปวิดิโอนำเสนอธุรกิจ จำนวนเงิน และระยะเวลาที่เปิดระดมทุน

    ข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้ระดมทุนควรจะมี

    คุณสมบัติของสมาชิกและธุรกิจเบื้องต้นที่สามารถระดมทุนได้ตามเกณฑ์สำนักงาน กลต.

    • เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยดูจากหนังสือสำคัญของบริษัท
    • ไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    • มีการประกอบธุรกิจหรือโครงการธุรกิจที่ชัดเจน และประสงค์จะดำเนินธุรกิจหรือโครงการดังกล่าวโดยใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์
    • ไม่เป็นธุรกิจที่ไม่เหมาะสม เช่น การพนัน ธุรกิจที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม หรือธุรกิจที่ใช้เป็นช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมาย
    • ไม่เคยเสนอขายหุ้นต่อบุคคลในวงจำกัดหรือต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
    • ไม่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์อื่นมาก่อน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
    • ไม่ปรากฎว่าในช่วง 2 ปีก่อนระดมทุนผ่านระบบ บริษัทมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
      • เคยเปิดเผยข้อมูลเท็จหรือไม่ครบถ้วน
      • ไม่อำนวยความสะดวกให้บริษัทที่ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของการใช้เงินที่ระดมทุนได้ และ ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอต่อเนื่องไปภายหลังการเสนอขาย
      • วงเงินการเสนอขายหลักทรัพย์ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อนับรวมกับวงเงินในการเสนอขายหลักทรัพย์กับผู้ลงทุนรายบุคคลในครั้งนี้แล้ว มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 40 ล้านบาท และการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้เมื่อนับรวม 12 เดือนย้อนหลัง ต้องไม่ทำให้มูลค่ารวมของการเสนอขาย ณ วันสิ้นสุดการเสนอขายในรอบนี้กับผู้ลงทุนรายบุคคล มีมูลค่าเกิน 20 ล้านบาท
      • ไม่มีข้อพิพาททางกฎหมายต่างๆ

    ขั้นตอนการประเมินผู้ระดมทุน

    Dreamaker Equity ได้วางมาตรฐานในการรับการระดมทุนตามเกณฑ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาด เกณฑ์ขั้นต้นที่ใช้ในการประเมินได้แก่ การให้ผู้ระดมทุนยืนยันตนบริษัท ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นหลัก ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารสำคัญบริษัท การประเมินธุรกิจ ตรวจสอบประมาณการเงิน และเอกสารทางการเงินที่สำคัญ เอกสารสำคัญทางกฎหมาย

    เอกสารสำคัญ

    บริษัทที่ระดมทุนจะต้องยื่นเอกสารให้ครบถ้วนตามที่ระบุในส่วนของเอกสารสำหรับระดมทุน และให้ความร่วมมือในการส่งเอกสารเพิ่มเติมเมื่อทางบริษัทขอ ได้แก่

    • แบบฟอร์มระดมทุน
    • สำเนาหนังสือรับรองบริษัท
    • สำเนาวัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท
    • สำเนาหนังสือบริคณสนธิ (บอจ. 2)
    • รายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
    • ข้อบังคับบริษัท
    • สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
    • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ผู้บริหาร
    • งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี (ถ้ามี)
    • ธุรกรรมทางการเงินย้อนหลัง 3 เดือน
    • Pitch Deck

    Compliance

    • การยืนยันตัวตนของบริษัทที่ระดมเกี่ยวกับ เช่น สัญชาติบริษัท เลขจดทะเบียนบริษัท ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ แหล่งที่มาเงินรายได้ และประเภทธุรกิจ
    • ทำแบบแจ้งข้อมูล (declaration form) ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน การดำรงตำแหน่งกรรมการในรอบปัจจุบัน สัญชาติ คุณวุฒิทางวิชาชีพ (professional qualification)
    • การยืนยันว่าผู้บริหารไม่มีลักษณะต้องห้าม
    • ข้อมูลลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทที่แสดงว่าบริษัทไม่ได้ประกอบธุรกิจที่ผิดกฎหมาย หรือมีการฟ้องร้องทางคดีและกระบวนการทางกฎหมายที่มีนัยสำคัญ

    • การประเมินในเรื่องของขนาดของตลาด (TAM/SAM/SOM)
    • Revenue Model
    • Value Proposition
    • Unit Economics
    • โครงสร้างทางธุรกิจ และบริษัทลูกที่เกี่ยวข้อง

    • ข้อมูลทางการเงินในอดีต เช่น รายได้ กำไร หนี้ ธุรกรรมทางการเงิน และประมาณการทางการเงิน
    • เอกสารทางภาษีย้อนหลัง
    • ความเป็นเหตุเป็นผลของการวางแผนค่าใช้จ่าย และรายได้ในอนาคต
    • มูลค่ากิจการจากการประมาณการทางการเงิน
    • แนวทางการจ่ายผลตอบแทนให้แก่นักลงทุน เช่น นโยบายการจ่ายเงินปันผล แผนการควบรวมกิจการ หรือแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (IPO)

    • ข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท รายชื่อผู้ถือหุ้น สัดส่วนการถือหุ้นบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
    • การเปิดเผยข้อมูลของการเสนอขายหุ้น เช่น ประเภทหุ้นที่ออกเสนอขาย สิทธิของผู้ถือหุ้น
    • เปิดเผยข้อมูลการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ตรวจสอบความเป็นเจ้าของสิทธิบัตร (ถ้ามี)
    • สัญญากู้เงินกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพตามที่บริษัทบริษัทแจ้ง
    • สิทธิพิเศษทางภาษี และเงินที่ได้รับการสนัยสนุนจากโครงการทั้งภาครัฐ และเอกชน